Rainbow Pinwheel Pointer

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัติเฟซบุ๊ค

เฟซบุ๊ค (Facebook)


เฟซบุ๊ค (อังกฤษFacebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ บริษัท เฟซบุ๊ค (Facebook, Inc.) [2] จากข้อมูล 4 ตุลาคม 2555 เฟซบุ๊คมีผู้ใช้ประจำ พันล้านกว่าบัญชี หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 7 ของคนทั้งโลก [3][4][N 1] ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อพวกเขาปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ อื่น ๆ ชื่อของเฟซบุ๊คนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มเแรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น เฟซบุ๊คอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัครลงทะเบียนกับเฟซบุ๊ค โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป
เฟซบุ๊คก่อตั้งขึ้นโดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องในวิทยาลัยของเขาและเป็นนักเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ชื่อ เอ็ดวาร์โด ซาเวริน, ดิสติน มอสโควิตซ์ และคริส ฮิวส์[5] เดิมทีสมาชิกของเว็บไซต์จะจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ก่อตั้งและนักเรียนมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่ต่อมาขยับขยายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแถบบอสตัน, กลุ่มไอวีลีก, และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แล้วค่อย ๆ เพิ่มนักเรียนจากมหาวิทยาลัยอื่น จนกระทั่งเปิดให้กับนักเรียนระดับไฮสคูล จนในที่สุดทุกคนก็สามารถเข้าสมัครได้โดยอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป
สำหรับติดต่อแลกข้อมูลข่าวสาร เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊คเปิดให้ใช้งานเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวออกไปสำหรับมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และตั้งแต่11 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขยายมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกคนเหมือนในปัจจุบัน
จากการศึกษาของเว็บ คอมพีต.คอม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กถือเป็นบริการเครือข่ายสังคมที่มีคนใช้มากที่สุด เมื่อดูจากผู้ใช้ประจำรายเดือน รองลงมาคือ มายสเปซ[6] เอ็นเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้อยู่ในรายชื่อ สิ่งที่ดีที่สุดในสิ้นทศวรรษ[7] และควอนต์แคสต์ ประเมินว่า เฟซบุ๊ก มีผู้ใช้ต่อเดือนราว 135.1 ล้านคน นับเฉพาะในสหรัฐอเมริกา[8]
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 จากเฟซบุ๊กมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 584,628,480 สมาชิกทั้วโลก โดยเป็นสมาชิกจากประเทศไทยรวม 6,914,800 สมาชิก [9]

ประวัติ

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เริ่มเขียนเว็บไซต์ เฟซแมช ขึ้นมาก่อนที่จะเป็นเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด โดยเป็นเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนเว็บ ฮอตออร์น็อต ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด[10] และจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ชื่อ The Harvard Crimson เฟซแมชใช้ภาพที่ได้จาก เฟซบุ๊ค หนังสือแจกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีรูปนักศึกษา จากบ้าน 9 หลัง โดยจะมีรูป 2 รูปให้คนเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน[11]

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก
เพื่อทำให้ได้สำเร็จ ซักเคอร์เบิร์กได้แฮกเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของฮาวาร์ดในพื้นที่ป้องกัน และได้คัดลอกภาพส่วนตัวประจำหอพัก ซึ่งในขณะนั้นฮาวาร์ดยังไม่มีสารบัญรูปภาพและข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา และเฟซแมชได้ทำให้มีผู้เข้าเยี่ยมชม 450 คน และดูรูปภาพ 22,000 ครั้งใน 4 ชั่วโมงแรกที่ออนไลน์[11] และเว็บไซต์นี้ได้จำลองสังคมกายภาพของคน ด้วยอัตลักษณ์จริง เป็นตัวแทนของกุญแจสำคัญด้านมุมมอง ที่ต่อมาได้กลายมาเป็น เฟซบุ๊ค[12]
เว็บไซต์ได้ก้าวไกลไปในหลายเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่มในมหาวิทยาลัย แต่ก็ปิดตัวไปในอีกไม่กี่วันโดยคณะบริหารฮาวาร์ด ซักเคอร์เบิร์กถูกกล่าวโทษว่าทำผิดต่อระบบรักษาความปลอดภัย การละเมิดลิขสิทธิ์ และการละเมิดความเป็นส่วนตัว และยังถูกไล่ออก แต่ท้ายที่สุดแล้วข้อกล่าวหาก็ยกเลิกไป[13] ต่อมาซักเคอร์เบิร์กได้ขยับขยายโครงการในเทอมนั้นเอง โดยได้คิดค้นเครื่องมือการศึกษาทางสังคมที่ก้าวหน้า ของการสอบวิชาประวัติศาสตร์ โดยการอัปโหลดรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรม 500 รูป โดยมี 1 รูปกับอีก 1 ส่วนที่ให้แสดงความเห็น[12] เขาเปิดกับเพื่อนร่วมชั้นของเขา และคนเริ่มที่จะแบ่งปันข้อความกัน
ในเทอมต่อมาซักเคอร์เบิร์กเริ่มเขียนโค้ดในเว็บไซต์ใหม่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 เขาได้รับแรงกระตุ้นให้ทำ เขาพูดไว้ใน The Harvard Crimsonเกี่ยวกับเรื่อง เฟซแมช[14] และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ซักเกอร์เบิร์กได้เปิดตัวเว็บไซต์ "เดอะเฟซบุก" ในยูอาร์แอล thefacebook.com[15]
6 วันหลังจากเปิดเว็บไซต์ รุ่นพี่ 3 คน คือ แคเมรอน วิงก์เลวอส, ไทเลอร์ วิงก์เลวอส และดิฟยา นาเรนดรา ได้ฟ้องร้องซักเกอร์เบิร์กที่หลอกลวงพวกเขาให้เชื่อว่า เขาได้ช่วยที่จะช่วยสร้างเครือข่ายสังคมที่ชื่อว่า HarvardConnection.com ขณะที่เขาใช้แนวคิดพวกเขาในการสร้างเว็บไซต์เพื่อแข่งขัน[16] ทั้ง 3 คนได้บ่นในหนังสือพิมพ์ Harvard Crimson โดยทางหนังสือพิมพ์เริ่มทำการสอบสวน ต่อมาทั้ง 3 คนได้ยื่นฟ้องทางกฎหมายต่อซักเกอร์เบิร์กในภายหลัง[17]
แต่เดิม สมาชิกจะจำกัดเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และภายในเดือนแรก มากกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ได้ลงทะเบียนใช้บริการ[18] เอ็ดวาร์โด ซาเวริน (ดูแลเรื่องธุรกิจ), ดิสติน มอสโควิตซ์ (โปรแกรเมอร์), แอนดรูว์ แม็กคอลลัม (กราฟิก) และคริส ฮิวส์ ที่ต่อมาได้ร่วมกับซักเกอร์เบิร์กเพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ขยับขยายสู่มหาวิทยาลัยอื่นอย่าง สแตนฟอร์ดโคลัมเบีย, และเยล[19] และยังคงขยับขยายต่อสู่กลุ่มไอวีลีกทั้งหมด และมหาวิทยาลัยบอสตันมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเอ็มไอที และสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาไปทีละน้อย[20][21]
เฟซบุ๊กได้เป็นบริษัทในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2004 และได้นักธุรกิจ ฌอน พาร์กเกอร์ ที่ได้เคยแนะนำซักเกอร์เบิร์กอย่างเป็นกันเอง ก็ได้ก้าวมาเป็นประธานของบริษัท.[22] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ย้ายฐานปฏิบัติงานมาอยู่ที่ แพโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย[19] และได้รับเงินทุนในเดือนนั้นจากผู้ร่วมก่อตั้ง เพย์พาล ที่ชื่อ ปีเตอร์ ธีล[23] บริษัทได้เปลี่ยนชื่อ โดยลดคำว่า เดอะ ออกไป และซื้อโดเมนเนมใหม่ในชื่อ เฟซบุ๊ก.คอม ในปี ค.ศ. 2005 ด้วยเงิน 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ[24]
เฟซบุ๊กได้เปิดตัวในรูปแบบของโรงเรียนไฮสคูล ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ที่ซักเกอร์เบิร์กเรียกว่า ก้าวต่อไปที่มีเหตุผล[25] ณ เวลานั้นในเครือข่ายไฮสคูล ต้องการการรับเชิญเท่านั้นเพื่อร่วมเว็บไซต์[26] ต่อมาเฟซบุ๊กได้ขยับขยายให้กับลูกจ้างบริษัทที่คัดสรรอย่าง แอปเปิล และ ไมโครซอฟท์[27] เฟซบุ๊กได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006 ให้ทุกคนได้ใช้กัน โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปี และมีอีเมลที่แท้จริง[28][29]
ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าได้ซื้อหุ้นของเฟซบุ๊กเป็นจำนวน 1.6% ด้วยเงิน 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เฟซบุกมีมูลค่าราว 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[30] และทำให้ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ที่จะแขวนป้ายโฆษณาบนเฟซบุ๊กได้[31] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 เฟซบุกประกาศว่าจะตั้งสำนักงานใหญ่ระดับนานาชาติในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์[32]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กได้กล่าวว่า สถานะการเงินเริ่มเป็นตัวเลขบวกเป็นครั้งแรก [33] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 จากข้อมูลของ เซคันด์มาร์เก็ต ระบุว่าเฟซบุกมีมูลค่า 41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (แซงหน้าอีเบย์ไปเล็กน้อย) และถือเป็นบริษัทเว็บไซต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 3 รองจากกูเกิลและแอมะซอน[34] สถิติผู้เข้าชมในเฟซบุ๊กหลังปี ค.ศ. 2009 ผู้ชมเฟซบุ๊กมากกว่ากูเกิลในปลายสัปดาห์ของสัปดาห์ 13 มีนาคม ค.ศ. 2010 [35]

วิวัฒนาการของเฟซบุ๊กในแต่ละรุ่น

Facemash

โดย Facebook ในรุ่นแรกมีชื่อว่า Facemash ถือกำเนิดเมื่อ 2003 ตอนนั้น มาร์คยังคงเรียนอยู่ปี 2 ที่ Harvard แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ถูกแฟนทิ้ง Mark ก็เลยเริ่มเมาเละเทะ และก็เริ่มเขียน Blog เพื่อให้ลืมแฟนสาวคนนั้น ขณะเดียวกัน มาร์คก็เริ่มสร้าง Facemash บนหอพัก โดยมาร์คบอกว่ารูปที่ถ่ายรูปบางรูป น่าเกลียดมากจนเอาไปเปรียบเทียบกับพวกสัตว์ต่างๆ
Facemash กลายเป็นเว็ปที่นำรูปของนักศึกษาจากหอพักทั้งหมดเก้าหอพักมาเก็บไว้ มาร์คเริ่มเขียนโปรแกรม ให้สุ่มรูปขึ้นมาคู่กันสองรูปแล้วให้คนโหวตว่า ด้านซ้ายหรือขวาที่หน้าตาถูกใจของนักศึกษา
โดย Mark ได้ทำการ แฮ็ครูปนักศึกษาเข้าคอมพิวเตอร์ Harvard แล้วก็อปรูปมา Facemash ได้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง มีคนเข้ามา 450 คน และมีคนดูรูปไปทั้งหมด 22,000 รูป แต่ทว่าไม่กี่วันต่อมา Harvard ได้ทำการปิดเว้ป Facemash แล้วแจ้งจับมาร์คข้อหาละเมิดความเป็นสวนตัว และแฮ็คเข้าระบบคอมพิวเตอร์

Thefacebook

เทอมต่อมา ปี 2004 มาร์ค เริ่มสร้างเว็ปใหม่ขึ้นมา เรียกว่า Thefacebook เค้าได้รับแรงบันดาลใจจากบทความใน หนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับ กรณีของ Facemash บทความนั้นกล่าวว่า จริงๆแล้วเวปส่วนกลางลักษณะนี้น่าจะมีประโยชน์มากมาย
Thefacebook เริ่มใช้งานได้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2004 Mark บอกว่า หลายๆคนพูดถึงการมี facebook (จุดรวมรูปของนักศึกษาและอาจารย์) ของ Harvard โดยมาร์ค พูดต่อ อีกว่า มันเป็นอะไรที่ตลกมาก เพราะมหาวิทยาลัยต้องใช้เวลาเป็นปีๆกว่าจะทำเจ้าตัวนี้ขึ้นมา และตัวเค้าทำได้ดีกว่า แล้วก็ทำได้ในอาทิตย์เดียว
ภายในเวลาแค่ 24 ชั่วโมง Thefacebook มีคนลงทะเบียน 1,500 คน และ ภายในหนึ่งเดือน ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาปริญญาตรีทั้งหมดลงทะเบียนกับเค้าเดือนมีนาคมปีเดียวกัน Mark และกลุ่มเพื่อนๆ ก็ได้ขยาย Thefacebook ออกไปยัง มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ (Ivy League) จากนั้น ก็ขยายไปทั่วอเมริกา และทั่วโลก
ในปี 2005 คำว่า The ก็ถูกถอนออกจาก ชื่อ Thefacebook มาร์คและเพื่อนของเขาได้จดทะเบียนชื่อโดเมน facebook.com ในราคา $200,000 ... แล้วก็มี Facebook เฉกเช่นปัจจุบัน

ข้อพิพาทและการวิจารณ์

เฟซบุ๊กประสบกับข้อพิพาทหลายเรื่อง เฟซบุ๊กถูกปิดกั้นการเข้าถึงเป็นช่วง ๆ ในหลายประเทศ อย่างเช่นใน ประเทศจีน,[36] เวียดนาม[37] อิหร่าน[38] อุซเบกิสถาน[39] ปากีสถาน[40] ซีเรีย[41] และบังคลาเทศ[42] ในเหตุผลที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น เนื้อหาการต่อต้านอิสลามและการแบ่งแยกทางศาสนาในเฟซบุ๊ก และยังถูกห้ามใช้จากหลายประเทศ และยังถูกห้ามใช้ในสถานที่ทำงานหลายที่เพื่อป้องกันพนักงานเสียเวลาในการทำงาน[43] และนโยบายความเป็นส่วนตัวก็เป็นประเด็น และความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้ก็มีการไกล่เกลี่ยกันหลายต่อหลายครั้ง เฟซบุ๊กได้ลงมือแก้ปัญหาคดีความที่เกี่ยวกับซอร์ซโคดและทรัพย์สินทางปัญญา[44]

บริษัท[แก้]

รายได้ส่วนมากของเฟซบุ๊กมาจากการโฆษณา โดยไมโครซอฟท์เป็นผู้ร่วมหุ้นพิเศษในด้านการบริการแบนเนอร์โฆษณา[45] และเฟซบุ๊กให้มีการโฆษณาเฉพาะที่อยู่ในรายการลูกค้าของไมโครซอฟท์ และจากข้อมูลของคอมสกอร์ บริษัทสำรวจการตลาดทางอินเทอร์เน็ต ระบุว่า เฟซบุ๊กได้รวบรวมข้อมูลเข้าเว็บไซต์มากกว่า กูเกิลและไมโครซอฟท์ แต่น้อยกว่า ยาฮู![46] ในปี ค.ศ. 2010 ทีมระบบความปลอดภัยได้เพิ่มประโยชน์จากการต่อต้านภัยคุกคามและก่อการร้ายจากผู้ใช้[47] เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เฟซบุ๊กได้เปิดตัว เฟซบุ๊กบีคอน เป็นการพยายามในการโฆษณาให้เหล่าเพื่อน โดยใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เพื่อนซื้อ แต่เฟซบุ๊กบีคอนก็เกิดความล้มเหลว
โดยปกติแล้ว เฟซบุ๊กจะมีอัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณา (clickthrough rate) ต่ำกว่าเว็บไซต์ใหญ่ ๆ อื่น ที่ในแบนเนอร์โฆษณา เฟซบุ๊กจะมีอัตราการคลิก 1 ต่อ 5 เทียบกับเว็บไซต์อื่น[48] นั่นหมายถึงว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะกดคลิกโฆษณา ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้กูเกิลคลิกโฆษณาแรกในการค้นหาเฉลี่ย 8% (80,000 คลิกในทุก 1 ล้านการค้นหา) [49] แต่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะคลิกโฆษณาในอัตรา 0.04% (400 คลิกในทุก 1 ล้านหน้า) [50]
แซราห์ สมิท ผู้จัดการบริการงานขายออนไลน์ของเฟซบุ๊ก ยืนยันว่า การรณรงค์โฆษณาประสบความสำเร็จ สามารถมีอัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณา (CTR) ต่ำอยู่ราว 0.05% ถึง 0.04% แต่อัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณาสำหรับโฆษณามีแนวโน้มจะตกลงภายใน 2 อาทิตย์[51] เมื่อเปรียบเทียบ CTR กับมายสเปซแล้ว มียอดประมาณ 0.1% ซึ่งเป็น 2.5 เท่าของเฟซบุ๊ก และต่ำกว่านี้เมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่น คำอธิบายเรื่อง CTR สำหรับโฆษณาที่ต่ำในเฟซบุ๊กเนื่องจาก ข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นผู้รอบรู้ทางเทคโนโลยีและใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันและซ้อนโฆษณา ผู้ใช้มักเป็นคนหนุ่มสาวกว่าและชอบที่จะหลีกเลี่ยงข้อความโฆษณา ที่ในมายสเปซแล้วผู้ใช้จะเข้าถึงเนื้อหามากกว่า ในขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะใช้เวลาในการสื่อสารกับเพื่อน เป็นเหตุให้พวกเขาไปสนใจโฆษณา[52]
ในหน้าของตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ ในบางบริษัทมีรายงานว่า มี CTR สูงถึง 6.49% ในหน้าวอล[53] อินโวลเวอร์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการตลาดสังคม ประกาศว่า ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 ว่าสามารถบรรลุเป้า CTR ที่ 0.7% ในเฟซบุ๊ก (เป็น 10 เท่าของ CTR การโฆษณาในเฟซบุ๊ก) กับลูกค้าคือ เซเรนาซอฟต์แวร์ ถือเป็นลูกค้ารายแรกของอินโวเวอร์ ที่สามารถมีผู้ชม 1.1 ล้านครั้งจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ 8,000 คน[54] จากการศึกษาพบว่า วิดีโอโฆษณาในเฟซบุ๊กนั้น ผู้ใช้ 40% ดูวิดีโอทั้งหมดของวิดีโอ ขณะที่ค่าเฉลี่ยมาตรฐานอยู่ที่ 25% ของโฆษณาแบบแบนเนอร์ในวิดีโอ[55]
เฟซบุ๊กมีลูกจ้างมากกว่า 1,700 คน และมีสำนักงานใน 12 ประเทศ[56] โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กถือหุ้นของบริษัท 24% แอ็กเซล พาร์ตเนอร์ถือหุ้น 10% ดิจิตอลสกายเทคโนโลยีส์ถือหุ้น 10%[57]ดัสติน มอสโควิตซ์ถือหุ้น 6% เอ็ดวาร์โด ซาเวรินถือหุ้น 5% ฌอน พาร์กเกอร์ถือหุ้น 4% ปีเตอร์ ธีลถือหุ้น 3% เกรย์ล็อกพาร์ตเนอร์สและเมริเทคแคพิทอลพาร์ตเนอร์ส ถือหุ้นระหว่าง 1 ถึง 2% แต่ละบริษัท ไมโครซอฟท์ถือหุ้น 1.3% ลิ คา-ชิงถือหุ้น 0.75% อินเตอร์พับลิกกรุปถือหุ้นน้อยกว่า 0.5% นอกจากนั้นยังมีลูกจ้างปัจจุบันและอดีตลูกจ้างรวมถึงผู้มีชื่อเสียงอื่นถือหุ้นอีกน้อยกว่า 1% เช่น แมต โคห์เลอร์, เจฟฟ์ รอทส์ไชลด์, วุฒิสมาชิกรัฐแคลิฟอร์เนีย บาร์บารา บอกเซอร์, คริส ฮิวส์ และโอเวน แวน แนตตา ขณะที่รีด ฮอฟแมนและมาร์ก พินคัสเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และที่เหลืออีก 30% ถือหุ้นโดยลูกจ้าง ผู้มีชื่อเสียงไม่เปิดเผยชื่ออีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงนักลงทุนอื่น[58] แอดัม ดี'แองเจโล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและเพื่อนของซักเคอร์เบิร์กได้ลาออกไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 มีรายงานอ้างว่าเขาและซักเคอร์เบิร์กเริ่มไม่ลงรอยกัน และเป็นเหตุให้เขาไม่มีความสนใจในการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท[59]

การตอบรับ

ข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ประเทศที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊คมากที่สุด คือ[60]
  1. สหรัฐอเมริกา 168.7 ล้านคน
  2. ประเทศบราซิล 64.6 ล้านคน
  3. ประเทศอินเดีย 62.6 ล้านคน
  4. ประเทศอินโดนีเซีย 51.4 ล้านคน
  5. ประเทศเม็กซิโก 40.2 ล้านคน
หกประเทศข้างต้นมีสมาชิกทั้งสิ้น 309 ล้านคน หรือราวร้อยละ 38.6 ของสมาชิก 1 พันล้านคนทั่วโลกของเฟซบุ๊ค[61]

1 ความคิดเห็น: